ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปี
๒๕๔๕ เศรษฐกิจไทยยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปี
๒๕๔๕ โดยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงถึง
๔.๙% เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๔๔
ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพียง
๑.๙% โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเติบโต
ของประเทศ มาจากการบริโภค
ของประชาชนที่เพิ่มขึ้น
อันเนื่องมาจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในระดับรากหญ้าของรัฐบาลที่เริ่มมาตั้งแต่ปี
๒๕๔๔ โดยเน้นการกระจายเม็ดเงินสู่คนในระดับล่าง
เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้าน
โครงการธนาคารประชาชน
และมาตรการด้านสินเชื่อ
ที่อยู่อาศัย ตลอดจนนโยบายการปฏิรูปภาคอสังหาริมทรัพย์
การแก้ไขปัญหาหนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(NPL) โดยการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(บสท.)
นอกจากนี้ปัจจัยด้านการส่งออกที่ถือเป็นรายได้หลักของประเทศเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
โดยเฉพาะในไตรมาสที่
๓ ของปี ๒๕๔๕ มูลค่าการส่งออกของประเทศมีอัตราการขยายตัวสูงถึง
๑๑.๓% ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าของประเทศลดลง
อย่างไรก็ตาม
ยังคงมีปัจจัยที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศในปี
๒๕๔๕ ชะลอตัวลงเล็กน้อยในไตรมาสี่
๔ นั่นคือ ความไม่แน่นอน
ของการเกิดสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิรัก
ซึ่งส่งผลต่อความผันผวนของราคาน้ำมัน
และภาคการลงทุนโดยรวม
ของประเทศ และคาดว่าปัจจัยดังกล่าวนี้
จะส่งผลกระทบ ต่อเนื่องต่อเศรษฐกิจไทยในปี
๒๕๔๖
สำหรับแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี
๒๕๔๖ จะขึ้นอยู่กับการส่งออก
การลงทุนของภาคเอกชน
และการบริโภคของภาคเอกชนเป็นสำคัญ
โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ
ปัญหาการก่อวินาศกรรมทั่วโลก
ที่เริ่มขยายวงกว้างภายหลังการสิ้นสุดของสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิรัก
ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกให้ชะลอตัวลง
นอกจากนี้ปัญหาการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
หรือ โรคซาร์ส (SARS) ในภูมิภาคเอเชีย
ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญปัจจัยหนึ่งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้
ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะไม่มีการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส
แต่ประเทศไทยยังคงได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคดังกล่าว
โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมการบิน ตลอดจนอุตสาหกรรมการส่งออก
อันส่งผลให้ภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศเกิดการชะลอตัว
จากข้อมูลประมาณการของธนาคารแห่งประเทศไทย
คาดว่า โรคซาร์สอาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยถึงไตรมาสที่
๔ ในปี ๒๕๔๖ และเศรษฐกิจไทยจะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
๓.๕ – ๕.๕%
 |
สำหรับธุรกิจประกันชีวิตไทยในปี
๒๕๔๕ ยังคงถือได้ว่าเป็นปีทองอีกปีหนึ่งของธุรกิจประกันชีวิต
ทั้งนี้เพราะธุรกิจประกันชีวิต
ยังคงมีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ควบคู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
โดยสาเหตุหลักของการเติบโตของธุรกิจ
มาจากการลดลงอย่างต่อเนื่อง
ของอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
ที่อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์
เหลือเพียง ๑.๕% ในปี ๒๕๔๕
(ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ณ ธันวาคม ๒๕๔๕) และมีแนวโน้มที่จะลดลงอีกในปี
๒๕๔๖ จากปัจจัยดังกล่าวนี้เองส่งผลให้กรมธรรม์ประเภทออมทรัพย์
ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะกรมธรรม์ประเภทระยะสั้น
หรือ Short Term ที่มีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น
เพราะมีระยะเวลาเอาประกันเพียง
๑๐ ปี และมีระยะเวลาชำระเบี้ยประกันเพียง
๒ - ๕ ปี ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับผลตอบแทนที่รวดเร็วขึ้น
พร้อมทั้งสามารถวางแผนการเงินของตนเองได้ง่ายขึ้น | สำหรับปัจจัยอื่นๆ
ที่ถือได้ว่ามีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตในปี
๒๕๔๕ คือ นโยบายจากภาครัฐที่อนุญาตให้กรมธรรม์ประกันชีวิตสามารถหักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้น
จากเดิม ๑๐,๐๐๐ บาท เป็น
๕๐,๐๐๐ บาท ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจประกันชีวิตได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไปมากขึ้น
เพราะได้เล็งเห็นและเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงของการประกันชีวิตมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้
การแข่งขันกันอย่างรุนแรงในธุรกิจประกันชีวิต
โดยเฉพาะการสร้างและพัฒนาตัวแทน
ตลอดจนการพัฒนาทางด้านสินค้าและบริการรวมถึงการประชาสัมพันธ์
ยังคงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิต
ให้มรการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตลอดจนเป็นการเพิ่มศักยภาพของบริษัทประกันชีวิต
เพื่อรองรับการเปิดตลาดเสรีในอนาคต
จากปัจจัยบวกต่างๆ
ที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของธุรกิจประกันชีวิตในปี
๒๕๔๕ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันรับรวมทั้งสิ้น
๑๑๓,๙๐๙ ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต
๒๑% โดยแบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยรับปีแรกจำนวนทั้งสิ้น
๒๔,๗๔๗ ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต
๑๘% เบี้ยประกันรับปีต่อไปมีจำนวนทั้งสิ้น
๗๕,๙๘๐ ล้านบาท ด้วยอัตรานความคงอยู่
๙๐% และเบี้ยประกันจ่ายครั้งเดียวมีจำนวนทั้งสิ้น
๑๓,๑๘๒ ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต
๓๕% นอกจากนี้ธุรกิจประกันชีวิตยังคงมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนกรมธรรม์อย่างต่อเนื่อง
โดยในปี ๒๕๔๕ ธุรกิจประกันชีวิตมีจำนวนกรมธรรม์ทั้งสิ้นประมาณ
๘.๘ ล้านกรมธรรม์ โดยคิดเป็นสัดส่วนจำนวนกรมธรรม์ต่อประชากรทั้งหมดประมาณ
๑๔%
สำหรับทิศทางของธุรกิจประกันชีวิตในปี
๒๕๔๖ คาดว่า ธุรกิจประกันชีวิตยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
จากปี ๒๕๔๕ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนหลายประการ
อันได้แก่ ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ซึ่งส่งผลให้สินค้าประกันชีวิตประเภทออมทรัพย์ยังคงเป็นช่องทางการออมที่น่าสนใจ
โดยจะเห็นได้จากการที่บริษัทประกันชีวิตต่างๆ
ได้ดำเนินการพิจารณากรมธรรม์ยูนิตลิงค์
ซึ่งเป็นกรมธรรม์ที่เชื่อมโยงความคุ้มครองและการลงทุนไว้ด้วยกัน
นอกจากนี้นโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐ
เช่น นโยบายควบคุมดูแลกันเอง
และภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในธุรกิจประกันชีวิต
โดยเฉพาะการสร้างและการพัฒนาตัวแทนให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยี
เพื่อการบริการที่รวดเร็ว
ทันสมัย และครบวงจรมากยิ่งขึ้น
จะยังคงเป็นปัจจัยที่มีส่วนกระตุ้นการเติบโต
ของธุรกิจประกันชีวิตไทยในปี
๒๕๔๖ ได้เป็นอย่างดี
ในปี ๒๕๔๕
เป็นปีที่ภาครัฐได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันภัย
จากเดิมลดหย่อนได้เพียง
๑๐,๐๐๐ บาท เพิ่มขึ้นเป็น
๕๐,๐๐๐ บาท ส่งผลให้ประชาชนเริ่มตื่นตัวและเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการทำประกันชีวิตมากยิ่งขึ้น
กอปรกับในปี ๒๕๔๕ เป็นปีที่
บริษัท ไทยประกันชีวิต
จำกัด ดำเนินกิจการครบรอบ
๖๐ ปี บริษัทฯ จึงได้พัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานหลายๆ
ด้าน พร้อมกับพัฒนาสร้างสรรค์สินค้าและการบริการของบริษัทฯ
ให้ครอบคลุม สมบูรณ์แบบ
ตรงตามความต้องการของลูกค้า
ทั้งนี้เพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากการประกันชีวิตอย่างเต็มที่
ตลอดระยะเวลากว่า
๖๐ ปีที่ผ่านมา ไทยประกันชีวิตสามารถดำเนินธุรกิจประกันชีวิตได้อย่างมั่นคง
สมเกียรติ สมฐานะของการเป็นบริษัทประกันชีวิตที่ได้รับครุฑพระราชทาน
ให้เป็นบริษัทประกันชีวิตในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยในปี ๒๕๔๕ ไทยประกันชีวิตมีเสถียรภาพทางการเงินที่แข็งแกร่งด้วยจำนวนสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น
๗๑,๐๒๕ ล้านบาท เงินสำรองประกันภัยที่จัดสรรไว้ให้กับผู้เอาประกันจำนวน
๖๓,๔๖๒ ล้านบาท และเม็ดเงินที่นำไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ
ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิตอีกเป็นจำนวน
๖๔,๖๒๑ ล้านบาท โดยเน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง
สภาพคล่องสูง และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
นอกจากนี้
บริษัทฯ ยังมีจำนวนผู้เอาประกันที่ออมทรัพย์ประกันชีวิตกับบริษัทฯ
เพิ่มมากขึ้นจากปี ๒๕๔๔
ด้วยจำนวนกรมธรรม์ที่มีผลบังคับทั้งสิ้น
๒,๕๕๑,๑๒๙ กรมธรรม์ คิดเป็นทุนประกันชีวิตมีผลบังคับ
จำนวน ๒๔๑,๐๔๗ ล้านบาท
ทั้งยังเป็นบริษัทประกันชีวิตอันดับ
๒ ของธุรกิจ ที่มีเบี้ยประกันภัยรวมจำนวน
๑๘,๖๑๖ ล้านบาท จำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับปีแรก
๓,๔๙๑ ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป
๑๓,๓๖๕ ล้านบาท และเบี้ยประกันชำระครั้งเดียว
๑,๗๖๐ ล้านบาท ในขณะที่ตลอดปี
๒๕๔๕ ที่ผ่านมา ไทยประกันชีวิตได้จ่ายเงินตามเงื่อนไขกรมธรรม์ทุกประเภท
ไม่ว่าจะเป็น เงินสินไหมทดแทนทุพพลภาพ
เงินครบกำหนดสัญญา เงินปันผลและดอกเบี้ยเงินปันผล
ฯลฯ ให้แก่ผู้เอาประกันไปแล้วทั้งสิ้นเป็นจำนวน
๘,๘๑๙ ล้านบาท
|