ไทยประกันชีวิต

ผลประกอบการ

Home
ประวัติบริษัท
ครบรอบ ๖๐ ปี
คณะกรรมการ
ผลประกอบการBBB+
บริษัทในเครือ
จุดเด่น
ผลประกอบการ
สารจากประชาชน

[an error occurred while processing this directive]

        ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปี ๒๕๔๕ เศรษฐกิจไทยยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปี ๒๕๔๕ โดยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงถึง ๔.๙% เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๔๔ ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพียง ๑.๙% โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเติบโต ของประเทศ มาจากการบริโภค ของประชาชนที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในระดับรากหญ้าของรัฐบาลที่เริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ โดยเน้นการกระจายเม็ดเงินสู่คนในระดับล่าง เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการธนาคารประชาชน และมาตรการด้านสินเชื่อ ที่อยู่อาศัย ตลอดจนนโยบายการปฏิรูปภาคอสังหาริมทรัพย์ การแก้ไขปัญหาหนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) โดยการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)

        นอกจากนี้ปัจจัยด้านการส่งออกที่ถือเป็นรายได้หลักของประเทศเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในไตรมาสที่ ๓ ของปี ๒๕๔๕ มูลค่าการส่งออกของประเทศมีอัตราการขยายตัวสูงถึง ๑๑.๓% ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าของประเทศลดลง

        อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศในปี ๒๕๔๕ ชะลอตัวลงเล็กน้อยในไตรมาสี่ ๔ นั่นคือ ความไม่แน่นอน ของการเกิดสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิรัก ซึ่งส่งผลต่อความผันผวนของราคาน้ำมัน และภาคการลงทุนโดยรวม ของประเทศ และคาดว่าปัจจัยดังกล่าวนี้ จะส่งผลกระทบ ต่อเนื่องต่อเศรษฐกิจไทยในปี ๒๕๔๖

        สำหรับแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี ๒๕๔๖ จะขึ้นอยู่กับการส่งออก การลงทุนของภาคเอกชน และการบริโภคของภาคเอกชนเป็นสำคัญ โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ ปัญหาการก่อวินาศกรรมทั่วโลก ที่เริ่มขยายวงกว้างภายหลังการสิ้นสุดของสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิรัก ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกให้ชะลอตัวลง นอกจากนี้ปัญหาการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ โรคซาร์ส (SARS) ในภูมิภาคเอเชีย ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญปัจจัยหนึ่งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะไม่มีการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส แต่ประเทศไทยยังคงได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคดังกล่าว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการบิน ตลอดจนอุตสาหกรรมการส่งออก อันส่งผลให้ภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศเกิดการชะลอตัว จากข้อมูลประมาณการของธนาคารแห่งประเทศไทย คาดว่า โรคซาร์สอาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยถึงไตรมาสที่ ๔ ในปี ๒๕๔๖ และเศรษฐกิจไทยจะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ๓.๕ – ๕.๕%

        สำหรับธุรกิจประกันชีวิตไทยในปี ๒๕๔๕ ยังคงถือได้ว่าเป็นปีทองอีกปีหนึ่งของธุรกิจประกันชีวิต ทั้งนี้เพราะธุรกิจประกันชีวิต ยังคงมีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยสาเหตุหลักของการเติบโตของธุรกิจ มาจากการลดลงอย่างต่อเนื่อง ของอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ ที่อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ เหลือเพียง ๑.๕% ในปี ๒๕๔๕ (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ธันวาคม ๒๕๔๕) และมีแนวโน้มที่จะลดลงอีกในปี ๒๕๔๖ จากปัจจัยดังกล่าวนี้เองส่งผลให้กรมธรรม์ประเภทออมทรัพย์ ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรมธรรม์ประเภทระยะสั้น หรือ Short Term ที่มีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น เพราะมีระยะเวลาเอาประกันเพียง ๑๐ ปี และมีระยะเวลาชำระเบี้ยประกันเพียง ๒ - ๕ ปี ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับผลตอบแทนที่รวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งสามารถวางแผนการเงินของตนเองได้ง่ายขึ้น
        สำหรับปัจจัยอื่นๆ ที่ถือได้ว่ามีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตในปี ๒๕๔๕ คือ นโยบายจากภาครัฐที่อนุญาตให้กรมธรรม์ประกันชีวิตสามารถหักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้น จากเดิม ๑๐,๐๐๐ บาท เป็น ๕๐,๐๐๐ บาท ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจประกันชีวิตได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไปมากขึ้น เพราะได้เล็งเห็นและเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงของการประกันชีวิตมากยิ่งขึ้น

        นอกจากนี้ การแข่งขันกันอย่างรุนแรงในธุรกิจประกันชีวิต โดยเฉพาะการสร้างและพัฒนาตัวแทน ตลอดจนการพัฒนาทางด้านสินค้าและบริการรวมถึงการประชาสัมพันธ์ ยังคงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิต ให้มรการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเป็นการเพิ่มศักยภาพของบริษัทประกันชีวิต เพื่อรองรับการเปิดตลาดเสรีในอนาคต

        จากปัจจัยบวกต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของธุรกิจประกันชีวิตในปี ๒๕๔๕ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันรับรวมทั้งสิ้น ๑๑๓,๙๐๙ ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต ๒๑% โดยแบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยรับปีแรกจำนวนทั้งสิ้น ๒๔,๗๔๗ ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต ๑๘% เบี้ยประกันรับปีต่อไปมีจำนวนทั้งสิ้น ๗๕,๙๘๐ ล้านบาท ด้วยอัตรานความคงอยู่ ๙๐% และเบี้ยประกันจ่ายครั้งเดียวมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๓,๑๘๒ ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต ๓๕% นอกจากนี้ธุรกิจประกันชีวิตยังคงมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนกรมธรรม์อย่างต่อเนื่อง โดยในปี ๒๕๔๕ ธุรกิจประกันชีวิตมีจำนวนกรมธรรม์ทั้งสิ้นประมาณ ๘.๘ ล้านกรมธรรม์ โดยคิดเป็นสัดส่วนจำนวนกรมธรรม์ต่อประชากรทั้งหมดประมาณ ๑๔%

        สำหรับทิศทางของธุรกิจประกันชีวิตในปี ๒๕๔๖ คาดว่า ธุรกิจประกันชีวิตยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากปี ๒๕๔๕ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนหลายประการ อันได้แก่ ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งส่งผลให้สินค้าประกันชีวิตประเภทออมทรัพย์ยังคงเป็นช่องทางการออมที่น่าสนใจ โดยจะเห็นได้จากการที่บริษัทประกันชีวิตต่างๆ ได้ดำเนินการพิจารณากรมธรรม์ยูนิตลิงค์ ซึ่งเป็นกรมธรรม์ที่เชื่อมโยงความคุ้มครองและการลงทุนไว้ด้วยกัน นอกจากนี้นโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น นโยบายควบคุมดูแลกันเอง และภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในธุรกิจประกันชีวิต โดยเฉพาะการสร้างและการพัฒนาตัวแทนให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการบริการที่รวดเร็ว ทันสมัย และครบวงจรมากยิ่งขึ้น จะยังคงเป็นปัจจัยที่มีส่วนกระตุ้นการเติบโต ของธุรกิจประกันชีวิตไทยในปี ๒๕๔๖ ได้เป็นอย่างดี

        ในปี ๒๕๔๕ เป็นปีที่ภาครัฐได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันภัย จากเดิมลดหย่อนได้เพียง ๑๐,๐๐๐ บาท เพิ่มขึ้นเป็น ๕๐,๐๐๐ บาท ส่งผลให้ประชาชนเริ่มตื่นตัวและเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการทำประกันชีวิตมากยิ่งขึ้น กอปรกับในปี ๒๕๔๕ เป็นปีที่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด ดำเนินกิจการครบรอบ ๖๐ ปี บริษัทฯ จึงได้พัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานหลายๆ ด้าน พร้อมกับพัฒนาสร้างสรรค์สินค้าและการบริการของบริษัทฯ ให้ครอบคลุม สมบูรณ์แบบ ตรงตามความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้เพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากการประกันชีวิตอย่างเต็มที่

        ตลอดระยะเวลากว่า ๖๐ ปีที่ผ่านมา ไทยประกันชีวิตสามารถดำเนินธุรกิจประกันชีวิตได้อย่างมั่นคง สมเกียรติ สมฐานะของการเป็นบริษัทประกันชีวิตที่ได้รับครุฑพระราชทาน ให้เป็นบริษัทประกันชีวิตในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยในปี ๒๕๔๕ ไทยประกันชีวิตมีเสถียรภาพทางการเงินที่แข็งแกร่งด้วยจำนวนสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น ๗๑,๐๒๕ ล้านบาท เงินสำรองประกันภัยที่จัดสรรไว้ให้กับผู้เอาประกันจำนวน ๖๓,๔๖๒ ล้านบาท และเม็ดเงินที่นำไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิตอีกเป็นจำนวน ๖๔,๖๒๑ ล้านบาท โดยเน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง สภาพคล่องสูง และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า

        นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีจำนวนผู้เอาประกันที่ออมทรัพย์ประกันชีวิตกับบริษัทฯ เพิ่มมากขึ้นจากปี ๒๕๔๔ ด้วยจำนวนกรมธรรม์ที่มีผลบังคับทั้งสิ้น ๒,๕๕๑,๑๒๙ กรมธรรม์ คิดเป็นทุนประกันชีวิตมีผลบังคับ จำนวน ๒๔๑,๐๔๗ ล้านบาท ทั้งยังเป็นบริษัทประกันชีวิตอันดับ ๒ ของธุรกิจ ที่มีเบี้ยประกันภัยรวมจำนวน ๑๘,๖๑๖ ล้านบาท จำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับปีแรก ๓,๔๙๑ ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป ๑๓,๓๖๕ ล้านบาท และเบี้ยประกันชำระครั้งเดียว ๑,๗๖๐ ล้านบาท ในขณะที่ตลอดปี ๒๕๔๕ ที่ผ่านมา ไทยประกันชีวิตได้จ่ายเงินตามเงื่อนไขกรมธรรม์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น เงินสินไหมทดแทนทุพพลภาพ เงินครบกำหนดสัญญา เงินปันผลและดอกเบี้ยเงินปันผล ฯลฯ ให้แก่ผู้เอาประกันไปแล้วทั้งสิ้นเป็นจำนวน ๘,๘๑๙ ล้านบาท




แผนภูมิแสดงจำนวนเงินทุน
แผนภูมิแสดง
จำนวนเงินลงทุน


แผนภูมิแสดงจำนวนกรมธรรณ์ จำนวนเงินเอาประกันภัย และเบี้ยประกันภัยรวม
แผนภูมิแสดง
จำนวนกรมธรรม์,
จำนวนเงินเอาประกันภัย
และเบี้ยประกันภัยรวม


แผนภูมิแสดงสินทรัพย์ เงินสำรองประกันภัย และเงินจ่ายตามกรมธรรณ์ประกันภัย
แผนภูมิแสดง
สินทรัพย์,
เงินสำรองประกันภัย
และ
เงินจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัย


งบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๕ และ ๒๕๔๔
งบกำไรขาดทุน
สำหรับปีสิ้นสุด
วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๕
และ ๒๕๔๔


รายการย่อแสดงสินทรัพย์ เปรียบเทียบ ระหว่างปี ๒๕๔๔ และ ๒๕๔๕
รายการย่อแสดงสินทรัพย์
เปรียบเทียบ
ระหว่างปี ๒๕๔๔ และ ๒๕๔๓


จุดเด่นในรอบปี
จุดเด่นในรอบปี


[an error occurred while processing this directive]

หากท่านที่ต้องการทราบรายระเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อตัวแทนไทยประกันชีวิต เราพร้อมที่จะให้ข้อมูลท่านตลอดเวลา